Flash : #2-ส่วนประกอบของหน้า Interface














          จากตอนที่แล้วเราได้รู้จักกับลักษณะโดยรวมของ Flash รวมถึงหน้าที่การทำงานของ Flash มาอย่างคร่าว ๆ  กันบ้างแล้ว มาถึงตอนนี้เราจะอธิบายถึง ส่วนต่าง ๆ  ของหน้าInterface กันอย่างละเอียด ดังนี้ครับ


หน้า Interface จะประกอบด้วย




     1.Menu Bar     2.Stage     3.Timeline     4.Panels     5.Tools








เมนูบาร์ ( Menu Bar )




     Menu Bar  จะเป็นที่ที่รววบรวมคำสั่งต่าง ๆ  ที่ใช้สำหรัการทำงาน  และแยกไว้เป็นหมวดหมูซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ เช่น
          File :  จะไว้ใช้สำหรับจัดการไฟล์ เช่น การบันทึกงาน เป็นต้น
          Edit :  จะใช้สำหรับแก้ไขงาน
          View : จะเป็นการจัดการในส่วนของมุมมองในการทำงาน
          Insert : จะเป็นการนำเข้าชิ้นงานต่าง ๆ  
          Modify : จะใช้สำหรับดัดแปลงชิ้นงาน
          Text : จะเป็นส่วนจัดการเกี่ยวกับข้อความตัวอักษรต่าง ๆ 
          Control  :  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมชิ้นงาน
          Window : เป็นการจัดการหน้าต่างเครื่องมือ
          Help : เป็นส่วนที่เอาไว้ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่รู้ว่าต้องทำอะไรอย่างไร 



สเตจ ( Stage ) 


          Stage เป็นพื้นที่สำหรับแสดงผลงาน เปลี่ยบเที่ยบง่าย ๆ  Stage ก็จะเปรียบเสมือน หน้าเวที ที่จะมีตัวละครออกมาแดงให้เราเห็น ส่วนพื้นที่สีเทาที่อยู่รอบ ๆ Stage นั้น เราจะเรียกว่า Work Area ซึ่งเปรียบเสมือนหลังเวที ที่มีตัวละครและฉากต่าง ๆ  เตรียมที่จะออกมาแสดง 



ที่นี้เรามาดูตัวอย่างชิ้นงานกัน เพื่อความเข้าใจ


จะสังเกตว่ามีชิ้รงานอยู่ที่ Work Area

เมื่อกดปุ่ม ctrl + Enter เพือทำการแสดงผล จะสังเกตว่า มันจะแสดงเฉพาะส่วนที่เป็น Stage

ไทม์ไลน์ ( Timeline )


          Timeline จะเป็นส่วนกำหนดว่า ช่วงเวลาไหนจะแสดงอะไรออกมา คิดง่าย ๆ  ให้เราเปรียบเที่ยบกับฟิล์มภาพยนต์ เมือเข้าเครืองฉายโดยการหมุนฟิล์ไปแต่ละช่อง เราก็จะเห็นภาพที่เคลื่อนไหวได้   ไทม์ไลน์นั้น จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
          1.เลเยอร์ ( Layer )
          2.เพลย์เฮด ( Play Head )
          3.เฟรม ( Frame )
          4.เพิ่มเลเยอร์ ( New Layer ), เพิ่มโฟล์เดอร์ ( New Folder ), ลบเลเยอร์ ( Delete Layer )


เลเยอร์ ( Layer )

          เลเยอร์ จะเป็นการแบ่งการทำงานของ Flash ออกเป็นชั้น ๆ  เพื่อแบ่งการทำงานออกเป็นหลายรูปแบบ และง่ายต่อการควบคุมหรืแแก้ไข
         


เพลย์เฮด ( Play Head )

          เป็นเส้นสีแดงที่จะบอกตำแหน่ง ว่าตอนนี้ อยู่ที่เฟรมเท่าไร

     

เฟรม ( Frame )  

          เฟรมก็คือช่อง ๆ  หนึ่งที่เราสร้างชิ้นงานเอาไว้ เมือเรานำช้ินงานมาไว้ในแต่ละช่อง ก็จะเกิดภาพเคลื่อนไหว เมื่อเพลย์เฮดวิ่งไปในแต่ละแฟรม



เพิ่มเลเยอร์ ( New Layer ), เพิ่มโฟล์เดอร์ ( New Folder ), ลบเลเยอร์ ( Delete Layer )

           เมื่อเราต้องการที่จะสร้างเลเยอร์เพิ่มก็ให้คลิ๊กที่ New Layer หรืออยากจะสร้างโฟล์เดอร์เพื่อเอาไว้เก็ยเลเยอร์ ก็ให้คลิ๊กที่ New Folder และเมื่อต้องการที่จะลบ ก็กด Delete


 

หน้าต่างพาเนล ( Panels )    

           หน้าต่างพาเนลนั้น จะเป็นส่วนที่ช่วยในการปรับแต่งค่าต่าง ๆ  โดยรูปแบบของ พาเนลนั้นก็จะเปลี่ยนไปตามที่เราคลิ๊กเลื่อกสิ่งที่เราต้องการจะปรับค่า

พาเนล Properties ของ สเตจ


  
พาเนล Properties ของ เครื่องมือ

พาเนล Properties ของ ชิ้นงาน

แถบเครื่องมือ ( Tools )

            Tools panel เป็นแถบเครืองมือที่รวบรวมเครืองมือต่าง ๆ  ในการใช้สร้างชิ้นงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

1.Selection/Transform  กลุ่มนี้จะมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับเลือกชิ้นงาน( Selection ) เพื่อย้าย หรือแก้ไขชิ้นงานนั้น ๆ และ อีกส่วนนึงก็คือ Transform เป็นเครืองมือที่ใช้เปลี่ยนรูปทรงของชิ้นงาน 









2.Drawing ในกลุ่มนี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวาดชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นหรือรูปทรงต่าง ๆ










3.Paint กลุ่มนี้จะมีเครื่องมือนที่ใช้สำหรับการเทสี ดูดสี และการลบชิ้นงาน  และยังมีเครื่องมือในการใส่ข้อต่อให้กับชิ้นงานอีกด้วย










4.View เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมมุมมองของภาพ เช่น การซูมเข้า ซุมออก  และการเลือนภาพ










5.Color เป็นส่วนในการตั้งค่ากำหนดสีชิ้นงาน ทั้งสีพื้นและสีขอบ











6.Option  เป็นคำสั่งเพิ่มเติมของเครื่องมือต่าง ๆ ที่เราเลือก ซึ่งจะเปลี่ยนไปแล้วแต่ชนิดของเครื่องมือ 


แสดงความคิดเห็น