Java Programming : ตอนที่ 8 มาเริ่มต้นใช้งานตัวแปรกัน








มาเริ่มต้นใช้งานตัวแปรกัน
           ในการเขียนโปรแกรมนั้น ตัวแปรนับว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยของการเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะภาษาใดก็ตาม ตัวแปรแต่ละตัวแปรจะมีหน้าที่และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป หน้าที่หลักๆของตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นภาษาจาวา หรือจะภาษาใดก็แล้วแต่ หน้าที่ของมันคือ จะเก็บหรือใช้พักข้อมูลชั่วคราวในระหว่างการประมวลผลของโปรแกรมนั่นเอง

ตัวแปรคืออะไร
           ตัวแปร (Variable) มีหน้าที่เก็บข้อมูลหรือค่าต่างๆ ในขณะที่โปรแกรมถูกประมวลผล โดยค่าต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงตอนไหนก็ได้ในระหว่างที่รันโปรแกรม
           การสร้างตัวแปรประกอบตัวชื่อของมัน ชนิดของข้อมูลที่ตัวแปรนั้นๆ จะเก็บ ซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรด้วย
ตัวแปรของจาวาสามารถแบ่งออกเป็น 3 จำพวกใหญ่ๆ ได้ดังนี้
           -
Instance Variable (Non-Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นมาจากคลาส
           -
Class Variable (Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดไว้ในคลาส ถือเป็นส่วนประกอบ          ของคลาส ซึ่งตัวแปร Instance สามารถนำไปใช้งานได้
           -
Local Variable เป็นตัวแปรทั่วๆ ไปที่เห็นอยู่ในเมธอดต่างๆ


 ตัวอย่างที่ 1



จากตัวอย่างที่ 1 สรุปได้ว่า
1.เมื่อเริ่มต้นทำงานที่เมธอด main จะมีการสร้างตัวแปร door ขึ้นมา กำหนดค่าเป็น 4 ในที่นี้ ตัวแปร
   door เป็น Local Variable
2.ต่อมาการสร้างตัวแปร Honda ขึ้นมาจากคลาสที่ชื่อว่า MyCar (ถ้าสังเกตให้ดัจะเห็นว่าตรงกับชื่อไฟล์  
   .java ) ดังนั้น ตัวแปร Honda จัดเป็น Instance Variable
3.ตัวแปร carmodel กับ color จัดเป็น Class variable เพราะเป็นตัวแปรของคลาส MyCar
4.เมื่อเรานำไปใช้งานจะใช้เครื่องหมาย . ตามหลังชื่อ Instance Variable

เมื่อทดสอบการทำงานของคลาสนี้จะได้ผลดังนี้



การประกาศตัวแปร
(Variable Declaration)
         
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งานได้นั้น เราจะต้องสร้างตัวแปรขึ้นมาก่อน  ซึ่งเราจะเรียกวิธีการสร้างตัวแปรนี้ว่า การประกาศตัวแปร
ในการประกาศตัวแปร เราจะต้องกำหนดชื่อ และชนิดของข้อมูลให้กับตัวแปรนั้นๆ โดยมีรูปแบบดังนี้
<ชนิดข้อมูล><ชื่อตัวแปร>[=<ค่าตัวแปร>];

ตัวอย่างที่ 2 : เริ่มประกาศ และใช้งานตัวแปร



          จากตัวอย่างจะเห็นว่า เราได้ประกาศตัวแปรชนิดต่างๆ ไว้ในเมธอด main โดยการประกาศตัวแปรบางตัวก็จะมีการกำหนดค่าให้ทันทีตอนที่ประกาศ เช่น ตัวแปร age ตัวแปรบางตัวก็ประกาศไว้เฉยๆ
          เมื่อประกาศเสร็จเราก็สามารถเรียกใช้งานตัวแปรได้  โดยเราได้กำหนดค่าให้กับตัวแปรบางตัว  จากนั้นจึงให้แสดงผลออกมา โดยจะได้ผลดังนี้


           ถ้ามีการสร้างตัวแปรที่มีชนิดของข้อมูลเหมือนกัน เราสามารถประกาศตัวแปรไปพร้อมกันได้เลย โดยเราจะคั่นชื่อตัวแปรด้วยเครื่องหมาย ,

ตัวอย่างที่ 3 : ประกาศตัวแปรในรูปแบบต่างๆ


             จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นอกจากจะใช้เครื่องหมาย , คั่นชื่อตัวแปรที่ประกาศแล้ว ในการประกาศตัวแปรที่มีชนิดเดียวกันยังกำหนดค่าไปพร้อมๆ กับการประกาศชื่อตัวแปรได้ด้วย เมื่อทดสอบการทำงานได้ผล ดังนี้



การตั้งชื่อตัวแปร
             ตัวแปรในภาษาJava  จากตัวอย่างที่ผ่านๆ มานั้น ได้ตั้งชื่อตัวแปรเอาไว้ตอนประกาศค่า ซึ่งการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาJava  จะมีกฎ ดังนี้

             - ตัวแปรนั้นต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย
$ หรือเครื่องหมาย _
             - ห้ามตั้งชื่อตัวแปรขึ้นต้นด้วยตัวเลข เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์อื่นใด
             - ถัดจากตัวอักษรแรกของตัวแปรจะตามด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย
$
                หรือเครื่องหมาย
_
ก็ได้ (ห้ามเป็นเครื่องหมายอื่นๆ และห้ามเว้นช่องว่าง)
             - ตัวแปรในภาษา
Java เป็น Case Sensitive นั่นคือ ตัวพิมพ์เล็กตัวพิมพ์ใหญ่มีความ
                แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
String MyName, myName, myname;
                ตัวแปรทั้ง 3 ตัว ถือเป็นตัวแปรคนละตัวกัน
             - ห้ามตั้งชื่อตัวแปรที่ตรงกับคีย์เวิร์ด
(Keyword) ซึ่งก็คือ คำที่สงวน (Reserved Word)
                ไว้ของภาษา
Java

คีย์เวิร์ดในภาษาJava ได้แก่

abstract
default
if
package
throw
boolean
do
implements
private
thows
break
double
import
protected
transient
byte
else
inner
public
try
byvalue
extends
instanceof
rest
var
case
final
int
return
void
cast
finally
interface
short
volatile
catch
float
long
static
while
char
for
native
super
class
future
new
switch
const
generic
operator
synchronized
continue
goto
outer
this


             แม้จะตั้งชื่อได้ตามกฎข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรฝึกให้เป็นนิสัยก็คือ การตั้งชื่อตัวแปรให้สื่อความหมาย เพราะมันจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจในตัวแปรที่ใช้งาน ซึ่งจะมีประโยชน์มากๆ อีกครั้งก็ตอนที่แก้ไขโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาภายหลัง โดยมีชื่อที่สื่อความหมายจะบอกเป็นนัยๆ ว่า ตัวแปรนั้นถูกสร้างมาเพื่ออะไร
ลักษณะการตั้งชื่อตัวแปรที่ดี
-  ถ้าตัวแปรเป็นคำๆ เดียว ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น 
name, age เป็นต้น
-  ถ้าตัวแปรประกอบด้วยคำที่มากกว่า
1 คำ ให้คำแรกขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ส่วนคำอื่นๆ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น birthDate, carModelNumber เป็นต้น
-  แม้จะตั้งชื่อตัวแปรเป็นภาษาไทยได้ แต่แนะนำให้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดจะดีกว่า
-  หลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปรเป็นตัวอักษรตัวเดียว หรือไม่มีความหมาย เช่น
a, b, mm, xy  เป็นต้น



2 ความคิดเห็น: