C - Programming : ตอนที่ 6 ค่าคงที่ (CONSTANTS)





ค่าคงที่ (Constants)

           ค่าคงที่ (Constants) คือ ค่าข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่โปรแกรมทำงาน เช่น ค่า π ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.14 เป็นต้น ซึ่งในภาษา C สามารถใช้งานค่าคงที่ได้ 3 รูปแบบดังนี้
          
1.ระบุค่าโดยตรง (Literal Constants) เป็นการกำหนดค่าคงที่เพื่อใช้งานโดยตรง โดยไม่มีการกำหนดค่าผ่านตัวแปรใดๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ‘I’, “Love You”, 1, ‘\007’ เป็นต้น
          
2.นิยามโดย #define (Define Constants) เป็นการกำหนดค่าคงที่โดยการประกาศใช้งานไว้ในส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ โดยมีรูปแบบการประกาศใช้งานค่าคงที่ดังนี้
           #define  ConstantsName value

           โดยที่     ConstantsName     คือ ชื่อของค่าคงที่
                     
value                    คือ ค่าที่ต้องการกำหนดให้ค่าคงที่
           ตัวอย่างเช่น
        #define VAT 0.07
        #define TXT “Welcome to Thailand”
        #define NEWLINE ‘\n’
        #define ONE 1

           3.เก็บไว้ในตัวแปร (Memory Constants) เป็นการกำหนดค่าคงที่ในรูปแบบของตัวแปร โดยมีรูปแบบการประกาศใช้งานค่าคงที่ดังนี้
           const DataType VariableName = value;

           โดยที่     DataType              คือ ชนิดข้องมูลของค่าคงที่
                     
VariableName        คือ ชื่อของค่าคงที่
                     
value                    คือ ค่าที่ต้องการกำหนดให้กำค่าคงที่
           ตัวอย่างเช่น
        const float vat = 0.07;
        const int CONT  = 10;
        const char ch = ‘T’;

           ตัวอย่างที่ 6  เป็นการกำหนดค่าคงที่ (Memory Constants) PI  เพื่อหาพื้นที่วงกลม ซึ่งมีโค๊ดดังนี้
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
#include <math.h>

void main()
{
       const double PI = 3.14159;
       double fRadius = 50;
       double fArea;

       fArea = PI * pow(fRadius,2);

       printf("value of PI       = %f \n",PI);
       printf("value of radius   = %f \n",fRadius);
       printf("Circle area is    = %f \n",fArea);
       getch();
}

จากโค๊ดจะได้ผลลัพธ์ดังนี้ครับผม





การทำงานของโปรแกรมอธิบายได้ดังนี้ครับ
บรรทัดที่ 1-3
เป็นการเรียกใช้ส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ สังเกตได้ที่เครื่องหมาย # โดยมีการเรียกใช้ไลบรารี  stdio.h  ซึ่งเป็นไลบรารีจัดการเกี่ยวกับอินพุตละเอาต์พุต และไลบรารี conio.h ซึ่งเป็นไลบรารีจัดการเกี่ยวกับจอภาพทั้งหมด และไลบรารี math.h ซึ่งเป็นไลบรารีจัดการเกี่ยวกับการทำงานทางคณิตศาสตร์
บรรทัดที่ 5-17
เป็นส่วนการทำงานของฟังก์ชัน main()
บรรทัดที่ 7
กำหนดค่าคงที่ PI โดยกำหนดให้มีค่าเท่ากับ 3.14159
บรรทัดที่ 8
ประกาศตัวแปรชนิดเลขทศนิยมชื่อ fRadius เพื่อเก็บค่ารัศมีของวงกลมโดยกำหนดให้มีค่าเท่ากับ 50
บรรทัดที่ 9
ประกาศตัวแปรชนิดเลขทศนิยมชื่อ fArea เพื่อเก็บค่าพื้นที่วงกลม
บรรทัดที่ 11
คำนวณหาพื้นที่วงกลม และนำผลที่ได้เก็บไว้ในตัวแปร fArea
บรรทัดที่ 13-15
แสดงผลค่าคงที่ PI, ค่าตัวแปร  fRadius และ fArea ทางจอภาพตามลำดับ
บรรทัดที่ 16
เป็นคำสั่งรับอักขระจากแป้นพิมพ์ ในที่นี้เพื่อไม่ให้โปรแกรมปิดหน้าต่างผลลัพธ์เมื่อแสดงผลลัพธ์ที่ต้องการแล้ว



แสดงความคิดเห็น