Java Programming : ตอนที่ 6 ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมภาษาJava









สรุปขั้นตอนการเขียนโปรแกรมภาษาJava
       
ก่อนจะลงมือเขียนโปรแกรมภาษาJava โดยใช้เครื่องมืออย่าง Eclipse นั้น เราจะต้องรู้ถึงขั้นตอนหลักในการเขียนโปรแกรมเสียก่อน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : สร้างโปรเจ็กต์

           เมื่อติดตัง Eclipse เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มต้นด้วยการสร้างโปรเจ็กต์ (โปรเจ็กต์ในที่นี้ก็คือ ที่รวมไฟล์ของหลายๆ ไฟล์ที่จำเป็นต่อการทำงาน เพราะโดยปกติโปรแกรมหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์อยู่แล้ว)
          
1.เปิดโฟลเดอร์ที่เก็บโปรแกรม Eclipse และดับเบิลคลิกที่ไอคอน eclipse ขึ้นมาใช้งาน


       2.จะปรากฏไดอะล็อกบอกซ์ Workspace Launcher ให้คลิกปุ่ม      



       3.เลือกที่อยู่ที่เราต้องการจะเก็บไฟล์ Java ไว้ ซึ่งสามารถเก็บไว้ในไดร์ฟไหนก็ได้ เช่น
            เก็บไว้ที่ C:\Users\Administrator\Documents\เขียนโปรแกรม\Java\Basic เป็นต้น


        4.คลิกปุ่ม OK


          5.เมื่อปรากฏหน้าจอ Welcome ให้ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Workbench


           6.คลิกเลือกเมนู File > New > Project...


          7.จะปรากฏหน้าต่าง New Project ขึ้นมา ให้คลิดเลือก Java Project                                       8.จากนั้นก็คลิกปุ่ม Next >


          9.ที่ช่อง Project name: ตั้งชื่อ Project
          10.คลิกปุ่ม Next>
          11.คลิกปุ่ม Finish




           12.คลิกขวาที่ชื่อ Project ที่เราสร้างขึ้น แล้วเลือกคำสั่ง New > Class


           13.จะปรากฏหน้าต่าง New Java Class ที่หัวข้อ Name: พิมพ์ชื่อ Class ในที่นี้จะตั้งชื่อว่า                               HalloWorld
           14.คลิกเลือก 


           15.คลิกปุ่ม Finnish


          16.จะปรากฏโค๊ดสั้นๆ ขึ้นมาที่หน้าจอหลัก


ขั้นตอนที่ 2 : เริ่มเขียนโปรแกรม
           เป็นธรรมเนียมของการสอนเขียนโปรแกรมแรก ไม่ว่าจะภาษาใดๆ มักจะเริ่มด้วยรูปแบบคลาสสิคที่เรียกว่า
Hello World ซึ่งเป็นการทำงานง่ายๆ ด้วยการแสดงข้อความต้อนรับผู้เขียนโปรแกรมด้วยคำว่า “Hello World”
           1.ให้เราพิมพ์คำสั่งในภาษา Java เพิ่มเติมแทรกเข้าไป ดังนี้


โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเป็นโปรแกรมที่ ส่งข้อความ Hello World ออกสู่หน้าจอ โดยใช้คำสั่ง
System.out.println เป็นคำสั่งแสดงผลออกสู่หน้าจอ 
 
สาระน่ารู้
-        Public   เป็นการกำหนดการเข้าถึงคลาส
-        Static   ใช้นิยามตัวแปรและ Method ที่ต้องการให้มีค่าคงที่ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ ส่วน
             ของ
Class
-        void       ใช้นิยาม Method โดยเป็นการกำหนดให้ไม่มีการส่งค่าใดๆ กลับมาให้กับ Method นี้
-        main     เป็นการบอกโปรแกรมให้รู้ว่า จะเรียกใช้การทำงานในส่วนนี้เป็นส่วนหลัก

          2.คลิกที่ไอคอน Save  



ขั้นตอนที่ 3 และ 4 : การคอมไพล์ และรันโปรแกรม
         
การคอมไพล์และการรันผลการทำงานของ class ด้วยโปรแกรม Eclipse นั้นมี 2 ลักษณะตามการเขียนโปรแกรมคือ
           - การคอมไพล์และรันโปรแกรมในกรณีปกติ
           - การคอมไพล์ และรันโปรแกรมในกรณีที่มีการรับค่าอาร์กิวเมนต์จากคีย์บอร์ด
การคอมไพล์และรันโปรแกรมในกรณีปกติ
กรณีนี้ไม่มีการรับค่าอาร์กิวเมนต์จากคีย์บอร์ดสามารถทำได้ดังนี้
1.คลิกเลือกเมนู Run > Run


2.จะปรากฏผลลัพธ์ขึ้นที่หน้าจอ Console


การคอมไพล์ และรันโปรแกรมในกรณีที่มีการรับค่าอาร์กิวเมนต์จากคีย์บอร์ด
         
บางครั้งเราอาจต้องการให้ผู้ใช้งานป้อนข้อมูลบางอย่างผ่านทางคีย์บอร์ดส่งไปให้โปรแกรมก่อน แล้วจึงนำค่าที่ป้อนนั้นไปเป็นข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการทำงานของโปรแกรม ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.ไปที่หน้าการสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ แล้วกำหนดรายระเอียดของโปรเจ็กต์ ดังนี้



2.สร้างคลาสขึ้นมาใหม่

3.เขียนโปรแกรมง่ายๆ ให้แสดงอาร์กิวเมนต์ที่เราป้อนเข้ามาทีละบรรทัด (โดยเอาแค่ 3 อาร์กิวเมนต์แรกเท่านั้น)


4.คลิกเลือกเมนู Run > Run Configurations...


5.จะปรากฏหน้าต่าง Run ขึ้นมา ให้คลิดแท็บ Arguments
6.ที่ช่อง Program arguments ให้พิมพ์อาร์กิวเมนต์ที่เราต้องการใส่ลงไป (จะพิมพ์กี่ตัวก็ได้ อาร์กิวเมนต์แต่ละตัวจะถูกขั้นด้วยช่องว่าง (Space) นั่งเอง)
7.คลิกปุ่ม Apply
8.คลิกปุ่ม Run


11.จะปรากฏผลลัพธ์จากการคอมไพล์และรัน โดยจะแสดงอาร์กิวเมนต์ที่เราป้อนมาให้เห็นที่หน้าจอ Console ดังรูป


ขั้นตอนที่ 5 : บันทึกโปรเจ็กต์
         
จะเห็นว่าไฟล์ .Java ซึ่งเก็บโค๊ดที่เราเขียนนั้น จะอยู่ในซับโฟลเดอร์ scr ส่วน ไฟล์นามสกุล .class ซึ่งได้จากการคอมไพล์นั้นจะเก็บอยู่ในซับโฟลเดอร์ bin (และทั้งหมดจะเก็บอยู่ในโปรเจ็กต์ที่เราได้สร้างขึ้น)





แสดงความคิดเห็น