โครงสร้างของโปรแกรมที่พัฒนาด้วยโปรแกรมภาษา
C
จะประกอบไปด้วย 6 ส่วนหลักๆ
และมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
1.ส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File or Processing Directive) ในการคอมไพล์จะทำงานในส่วนนี้เป็นส่วนแรก
เฮดเดอร์ไฟล์จะเป็นส่วนที่เก็บไลบรารีมาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ารวมกับโปรแกรมในขณะที่กำลังคอมไพล์ โดยใช้คำสั่ง #include
จะสังเกตได้ว่า ส่วนนี้จะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ ตัวอย่างการเขียน เช่น
#include<HeaderName>
หรือ
#include “HeaderName”
ทั้ง 2 แบบจากตัวอย่างด้านบนจะให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่การทำงาน คือ แบบที่ใช้เครื่องหมาย <...> คอมไพล์เลอร์จะค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีของภาษา C เพียงที่เดียวเท่านั้น
ส่วนแบบที่ใช้เครื่องหมาย “...” คอมไพล์เลอร์เฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีที่เก็บ
Source Code ของเราก่อน
ถ้าหากหาไม่เจอก็จะไปค้นหาต่อที่ไลบรารีของภาษา C และที่ควรสังเกตก็คือ
เฮดเดอร์ไฟล์นี้มีสกุลไฟล์เป็น .hเท่านั้น
ในการเขียนภาษา C เฮดเดอร์ไฟล์ที่เก็บไลบรารีมาตรฐานในการจัดการเกี่ยวกับอินพุตและเอาต์พุตของโปรแกรมก็คือ
stdio.h ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย
2.ส่วนของตัวแปร Global ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้
จะมีหน้าที่ประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ร่วมกันทั้งโปรแกรม
3.ส่วนของฟังก์ชัน (Function) เป็นส่วนการทำงานของโปรแกรม ในโครงสร้างของภาษา C จะบังคับให้มีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันคือ ฟังก์ชัน main()
ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นเริ่มการทำงานของโปรแกรม
(คอมไพล์เลอร์จะประมวลผลที่ฟังก์ชัน main() เป็นฟังก์ชันแรก)
โดยขอบเขตของฟังก์ชันจะเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยเครื่องหมาย {
และ } ตามลำดับ
4.ส่วนของตัวแปร
Local ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้
ทำหน้าที่ประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้เฉพาะภายในฟังก์ชันของตัวเองเท่านั้น
5.ส่วนของตัวโปรแกรม มีหน้าที่สั่งการทำงานของโปรแกรม
โดยที่คำสั่งแต่ละคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย ; เสมอ
6.ส่วนของตัวส่งค่ากลับ มีหน้าที่ส่งค่าข้อมูลกลับเมื่อฟังก์ชันจบการทำงานโดยค่าที่ส่งกลับนั้น
จะต้องเป็นค่าที่มีชนิดข้อมูลตรงกับชนิดของข้อมูลที่ฟังก์ชันคืนค่ากลับ ถ้าหากในกรณีที่ไม่ต้องการให้ฟังก์ชันคืนค่ากลับ
สามารถกำหนดได้โดยใช้คีย์เวิร์ด void
แสดงความคิดเห็น