มาเริ่มต้นใช้งานตัวแปรกัน
ในการเขียนโปรแกรมนั้น ตัวแปรนับว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยของการเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะภาษาใดก็ตาม ตัวแปรแต่ละตัวแปรจะมีหน้าที่และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป หน้าที่หลักๆของตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นภาษาจาวา หรือจะภาษาใดก็แล้วแต่ หน้าที่ของมันคือ จะเก็บหรือใช้พักข้อมูลชั่วคราวในระหว่างการประมวลผลของโปรแกรมนั่นเอง
ตัวแปรคืออะไร
ตัวแปร (Variable) มีหน้าที่เก็บข้อมูลหรือค่าต่างๆ ในขณะที่โปรแกรมถูกประมวลผล โดยค่าต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงตอนไหนก็ได้ในระหว่างที่รันโปรแกรม
การสร้างตัวแปรประกอบตัวชื่อของมัน ชนิดของข้อมูลที่ตัวแปรนั้นๆ จะเก็บ ซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรด้วย
ตัวแปร (Variable) มีหน้าที่เก็บข้อมูลหรือค่าต่างๆ ในขณะที่โปรแกรมถูกประมวลผล โดยค่าต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงตอนไหนก็ได้ในระหว่างที่รันโปรแกรม
การสร้างตัวแปรประกอบตัวชื่อของมัน ชนิดของข้อมูลที่ตัวแปรนั้นๆ จะเก็บ ซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรด้วย
ตัวแปรของจาวาสามารถแบ่งออกเป็น
3 จำพวกใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- Instance Variable (Non-Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นมาจากคลาส
- Class Variable (Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดไว้ในคลาส ถือเป็นส่วนประกอบ ของคลาส ซึ่งตัวแปร Instance สามารถนำไปใช้งานได้
- Local Variable เป็นตัวแปรทั่วๆ ไปที่เห็นอยู่ในเมธอดต่างๆ
- Instance Variable (Non-Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นมาจากคลาส
- Class Variable (Static Field) เป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดไว้ในคลาส ถือเป็นส่วนประกอบ ของคลาส ซึ่งตัวแปร Instance สามารถนำไปใช้งานได้
- Local Variable เป็นตัวแปรทั่วๆ ไปที่เห็นอยู่ในเมธอดต่างๆ
ตัวอย่างที่ 1
จากตัวอย่างที่ 1 สรุปได้ว่า
1.เมื่อเริ่มต้นทำงานที่เมธอด
main จะมีการสร้างตัวแปร door ขึ้นมา
กำหนดค่าเป็น 4 ในที่นี้ ตัวแปร
door เป็น Local Variable
2.ต่อมาการสร้างตัวแปร Honda ขึ้นมาจากคลาสที่ชื่อว่า MyCar (ถ้าสังเกตให้ดัจะเห็นว่าตรงกับชื่อไฟล์
.java ) ดังนั้น ตัวแปร Honda จัดเป็น Instance Variable
3.ตัวแปร carmodel กับ color จัดเป็น Class variable เพราะเป็นตัวแปรของคลาส MyCar
4.เมื่อเรานำไปใช้งานจะใช้เครื่องหมาย . ตามหลังชื่อ Instance Variable
door เป็น Local Variable
2.ต่อมาการสร้างตัวแปร Honda ขึ้นมาจากคลาสที่ชื่อว่า MyCar (ถ้าสังเกตให้ดัจะเห็นว่าตรงกับชื่อไฟล์
.java ) ดังนั้น ตัวแปร Honda จัดเป็น Instance Variable
3.ตัวแปร carmodel กับ color จัดเป็น Class variable เพราะเป็นตัวแปรของคลาส MyCar
4.เมื่อเรานำไปใช้งานจะใช้เครื่องหมาย . ตามหลังชื่อ Instance Variable
เมื่อทดสอบการทำงานของคลาสนี้จะได้ผลดังนี้
การประกาศตัวแปร (Variable Declaration)
ก่อนที่จะนำตัวแปรไปใช้งานได้นั้น เราจะต้องสร้างตัวแปรขึ้นมาก่อน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการสร้างตัวแปรนี้ว่า การประกาศตัวแปร
ในการประกาศตัวแปร เราจะต้องกำหนดชื่อ และชนิดของข้อมูลให้กับตัวแปรนั้นๆ โดยมีรูปแบบดังนี้
<ชนิดข้อมูล><ชื่อตัวแปร>[=<ค่าตัวแปร>];
|
ตัวอย่างที่ 2 : เริ่มประกาศ และใช้งานตัวแปร
จากตัวอย่างจะเห็นว่า
เราได้ประกาศตัวแปรชนิดต่างๆ ไว้ในเมธอด main โดยการประกาศตัวแปรบางตัวก็จะมีการกำหนดค่าให้ทันทีตอนที่ประกาศ
เช่น ตัวแปร age ตัวแปรบางตัวก็ประกาศไว้เฉยๆ
เมื่อประกาศเสร็จเราก็สามารถเรียกใช้งานตัวแปรได้ โดยเราได้กำหนดค่าให้กับตัวแปรบางตัว จากนั้นจึงให้แสดงผลออกมา โดยจะได้ผลดังนี้
เมื่อประกาศเสร็จเราก็สามารถเรียกใช้งานตัวแปรได้ โดยเราได้กำหนดค่าให้กับตัวแปรบางตัว จากนั้นจึงให้แสดงผลออกมา โดยจะได้ผลดังนี้
ถ้ามีการสร้างตัวแปรที่มีชนิดของข้อมูลเหมือนกัน
เราสามารถประกาศตัวแปรไปพร้อมกันได้เลย โดยเราจะคั่นชื่อตัวแปรด้วยเครื่องหมาย ,
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นอกจากจะใช้เครื่องหมาย , คั่นชื่อตัวแปรที่ประกาศแล้ว
ในการประกาศตัวแปรที่มีชนิดเดียวกันยังกำหนดค่าไปพร้อมๆ
กับการประกาศชื่อตัวแปรได้ด้วย เมื่อทดสอบการทำงานได้ผล ดังนี้
การตั้งชื่อตัวแปร
ตัวแปรในภาษาJava จากตัวอย่างที่ผ่านๆ มานั้น ได้ตั้งชื่อตัวแปรเอาไว้ตอนประกาศค่า ซึ่งการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาJava จะมีกฎ ดังนี้
- ตัวแปรนั้นต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย $ หรือเครื่องหมาย _
- ห้ามตั้งชื่อตัวแปรขึ้นต้นด้วยตัวเลข เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์อื่นใด
- ถัดจากตัวอักษรแรกของตัวแปรจะตามด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย $
หรือเครื่องหมาย _ ก็ได้ (ห้ามเป็นเครื่องหมายอื่นๆ และห้ามเว้นช่องว่าง)
- ตัวแปรในภาษาJava เป็น Case Sensitive นั่นคือ ตัวพิมพ์เล็กตัวพิมพ์ใหญ่มีความ
แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
ตัวแปรในภาษาJava จากตัวอย่างที่ผ่านๆ มานั้น ได้ตั้งชื่อตัวแปรเอาไว้ตอนประกาศค่า ซึ่งการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาJava จะมีกฎ ดังนี้
- ตัวแปรนั้นต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย $ หรือเครื่องหมาย _
- ห้ามตั้งชื่อตัวแปรขึ้นต้นด้วยตัวเลข เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์อื่นใด
- ถัดจากตัวอักษรแรกของตัวแปรจะตามด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย $
หรือเครื่องหมาย _ ก็ได้ (ห้ามเป็นเครื่องหมายอื่นๆ และห้ามเว้นช่องว่าง)
- ตัวแปรในภาษาJava เป็น Case Sensitive นั่นคือ ตัวพิมพ์เล็กตัวพิมพ์ใหญ่มีความ
แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
String
MyName, myName, myname;
ตัวแปรทั้ง 3 ตัว ถือเป็นตัวแปรคนละตัวกัน
- ห้ามตั้งชื่อตัวแปรที่ตรงกับคีย์เวิร์ด (Keyword) ซึ่งก็คือ คำที่สงวน (Reserved Word)
ไว้ของภาษา Java
- ห้ามตั้งชื่อตัวแปรที่ตรงกับคีย์เวิร์ด (Keyword) ซึ่งก็คือ คำที่สงวน (Reserved Word)
ไว้ของภาษา Java
คีย์เวิร์ดในภาษาJava ได้แก่
|
||||
abstract
|
default
|
if
|
package
|
throw
|
boolean
|
do
|
implements
|
private
|
thows
|
break
|
double
|
import
|
protected
|
transient
|
byte
|
else
|
inner
|
public
|
try
|
byvalue
|
extends
|
instanceof
|
rest
|
var
|
case
|
final
|
int
|
return
|
void
|
cast
|
finally
|
interface
|
short
|
volatile
|
catch
|
float
|
long
|
static
|
while
|
char
|
for
|
native
|
super
|
|
class
|
future
|
new
|
switch
|
|
const
|
generic
|
operator
|
synchronized
|
|
continue
|
goto
|
outer
|
this
|
แม้จะตั้งชื่อได้ตามกฎข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรฝึกให้เป็นนิสัยก็คือ
การตั้งชื่อตัวแปรให้สื่อความหมาย
เพราะมันจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจในตัวแปรที่ใช้งาน ซึ่งจะมีประโยชน์มากๆ
อีกครั้งก็ตอนที่แก้ไขโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาภายหลัง โดยมีชื่อที่สื่อความหมายจะบอกเป็นนัยๆ
ว่า ตัวแปรนั้นถูกสร้างมาเพื่ออะไร
ลักษณะการตั้งชื่อตัวแปรที่ดี
- ถ้าตัวแปรเป็นคำๆ เดียว ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น name, age เป็นต้น
- ถ้าตัวแปรประกอบด้วยคำที่มากกว่า 1 คำ ให้คำแรกขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ส่วนคำอื่นๆ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น birthDate, carModelNumber เป็นต้น
- แม้จะตั้งชื่อตัวแปรเป็นภาษาไทยได้ แต่แนะนำให้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดจะดีกว่า
- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปรเป็นตัวอักษรตัวเดียว หรือไม่มีความหมาย เช่น a, b, mm, xy เป็นต้น
ดีมากครับ
ตอบลบดีครับ
ตอบลบ